8 ก.ย. 2554

โปรแกรมjoomlaคือ

Joomla!TM คือโปรแกรม open source ที่เป็นระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (Web Content Management Systems: CMS) ซึ่งถูกพัฒนาด้วย PHP และใช้ฐานข้อมูลของ MySQL ในการเก็บข้อมูล มีเทคนิคการเขียนโปรแกรมขั้นสูงภายใต้มาตรฐาน XHTML สามารถทำงานได้หลายแพลตฟอร์มที่รองรับ PHP และ mySQL ทั้งนี้ Joomla!TM ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องจากทีมพัฒนาที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยระยะเริ่มต้น Joomla! ได้มุ่งเน้นเพื่อใช้ในการพัฒนา Coporate Website หรือเว็บไซต์ของบริษัทและองค์กรต่างๆ รวมไปถึงเว็บ Intranet ภายในหน่วยงาน โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ความสวยงามของรูปแบบที่ดูเป็นสากล รวมถึงความง่ายต่อการใช้งานของทั้งผู้พัฒนาและผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งให้ความรู้สึกแตกต่างจาก CMS ทั่วไป ตรงที่คุณสามารถออกแบบและสร้างหน้าตาของเว็บไซต์ (Template) ได้ตามต้องการ
และเนื่องจากการพัฒนา Joomla!TM ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันมีเครื่องมือเสริมหลายตัวที่ช่วยในการนำไปใช้สร้างเว็บไซต์ได้ หลายประเภทมากขึ้น อาทิ การสร้างเว็บไซต์เชิงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce การสร้างเว็บท่า (Portals) การสร้างเว็บไซต์เพื่อใช้เป็น Community และเว็บไซต์ประเภทอื่นๆ หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้
หาก คุณต้องการที่จะสร้างเว็บไซต์ แต่ไม่เคยรู้ว่าจะทำได้อย่างไร Joomla!TM สามารถช่วยได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรมอย่าง HTML, XML, DHTML, PHP หรือแม้แต่ MySQL ซึ่งคุณสามารถเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเนื้อหา โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปกับการแก้ไขโปรแกรม รวมถึง Joomla!TM ยังไม่มีขีดจำกัดในเรื่องของการออกแบบ ทำให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ของคุณได้สวยงามตามต้องการ
ประสิทธิภาพและความสามารถของ Joomla!TM

ประโยชน์ หลักของ Joomla!TM คือ การทำให้คุณสามารถจัดการกับเนื้อหาหรือข้อความ (Content) ได้โดยตรงผ่านหน้าเว็บ โดยผู้บริหารเว็บหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโปรแกรมเช่น HTML ในการอัพเดทเว็บ เพราะ Joomla! มี editor ออนไลน์ เช่น WYSIWYG editor ไว้เพื่อการจัดรูปแบบข้อความตัวอักษร (Text) และรูปภาพ ยิ่งกว่านั้นคุณไม่จำเป็นที่ต้องอัพโหลดเอกสารด้วยโปรแกรม FTP เพียงแค่คลิกปุ่ม save หรือ apply หน้าเว็บของคุณก็จะออนไลน์เตรียมพร้อมรับผู้เข้าชมที่จะเข้ามาดูในเว็บของ คุณได้ทันทีเราสามารถใช้ Joomla!TM กับเว็บไซต์ได้หลากหลายประเภท เช่น
เว็บท่า (Portals)
เว็บไซต์เชิงพาณิชย์ (Commercial web sites)
เว็บไซต์ที่ใช้ในองค์กร (Intranet web sites)
เว็บไซต์ที่ไม่แสวงหากำไร (Non-Profit web sites)
เว็บไซต์ส่วนตัว (Personal web sites)
เว็บไซต์ที่สร้างจาก Flash (Integrated flash sites)
นอกจากนี้ Joomla!TM ยังสามารถใช้งานได้หลายอย่าง เช่น

อัพเดทเว็บไซต์ด้วยข่าว บทความ และรูปภาพ
ง่าย ต่อการสร้างเนื้อหาของคุณด้วยเมนู เช่น ผลิตภัณฑ์ > ฮาร์ดแวร์ > เครื่องเล่นดีวีดี หรือ ผลิตภัณฑ์ > ฮาร์ดแวร์ > เครื่องเล่นซีดี
อัพโหลด MS Word, MS Excel และ Acrobat PDF เพื่อให้ดูเอกสารได้
จัดการ Banner เช่น โฆษณา
สร้างโพล (แบบสำรวจ)
จัดการเว็บลิงค์
จัดการ FAQ
จัดการข่าวที่อยู่ในรูป flash
จัดการกับ multi media flash, และไฟล์รูปภาพ .jpg, pif, bmp และ .png
จัดการกับการป้อนข่าวจากแหล่งข่าวที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ
จัดการกับ contact และ อีเมล์ จากหน้าต่างๆ
ให้ระดับการเข้าถึงข้อมูล (access) กับผู้ใช้
จัดการหน้า Archive
จัดการ components, modules และ templates ที่พัฒนาขึ้นมาเพิ่มเติม เช่น e-commerce, forums, รูปภาพ, ปฏิทิน และกำหนดการ, help desk เป็นต้น

ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และระบบเครือข่าย

เทคโนโลยีมีบทบาทต่อเศรษฐกิจและสังคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เกิดความเป็นโลกาภิวัตน์ คือ ข้อมูล ความรู้ สามารถผ่านถึงกันได้อย่างไร้ขอบเขต เป็นความรู้ไม่มีพรมแดน ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันถือว่าเป็นยุคดิจิตอล (The Digital Age) หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ยุคแห่งข้อมูล ยุคแห่งข่าวสาร (The Information Age) ดังนั้นข้อมูลข่าวสารต่างจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตหรือดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ผู้ใดที่มีโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าย่อมได้เปรียบผู้อื่น และการที่จะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วย่อมต้องอาศัยเทคโนโลยี สารสนเทศ

1.1 ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ
ข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (Information) มีความหมายที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันซึ่งถูกเก็บรวบรวมมาจากแหล่งต่าง ๆ ทำให้ทราบถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ข้อมูลอาจอยู่ในรูปตัวเลข ตัวอักษร ภาพ และเสียง
สารสนเทศ หมายถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมาผ่านกระบวนการประมวลผล วิเคราะห์ หลังสรุป จนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
สารสนเทศที่มีคุณภาพย่อมมาจากข้อมูลที่ดี ข้อมูลที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ คือ
1) มีความถูกต้องเชื่อถือได้
2.) ตรงตามความต้องการ
3) ทันต่อการใช้งาน
4) กะทัดรัด
5) ตรวจสอบได้

เครื่องมือที่นำมาใช้ในการประมวลผลสามารถจำแนกได้ 3 วิธี คือ
1) การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการแบบดั้งเดิมไม่ซับซ้อนยุ่งยาก เหมาะสำหรับงานปริมาณไม่มาก ไม่เร่งด่วน เครื่องมือที่ใช้ประมวลผลด้วยมือ เช่น ลูกคิด เครื่องคิดเลข ปากกา ดินสอ เป็นต้น
2) การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล (Machanical Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่ใช้เครื่องจักรกลมาทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำหรับประมวลผลด้วยมือ เช่น เครื่องทำบัญชี เป็นต้น
3) การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing) เป็นวิธีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ ซึ่งเป็นวิธีการประมวลผลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีลักษณะแบบออฟไลน์ (Off-Line) และแบบออนไลน์ (On-Line)
1.2 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาช่วยในการรวบรวม ประมวลผล สรุป จัดเก็บ และเผยแพร่ สารสนเทศที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร ภาพ และเสียง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) สู่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies : ICT) ระยะแรกนิสิตจะคุ้นเคยกับ คำว่า IT คือการมีข้อมูลสารสนเทศ (Information) และมีเทคโนโลยี (Technology) ซึ่งหมายถึง คอมพิวเตอร์ที่มาแรงมากในช่วงประมาณ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ระยะหลัง ICT มีบทบาทมาก กล่าวคือ ได้ใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารที่นอกจากจะรวมเอาอุปกรณ์คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยทำการประมวลผลข้อมูล (Data) ให้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เป็นสารสนเทศ (Information) ที่มี ความหมายในการบริหารจัดการแล้ว ยังใช้อุปกรณ์ทางการสื่อสาร (Communication) ช่วยเชื่อมโยงไปหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกล (Remote Area) โดยใช้โทรศัพท์ ดาวเทียม ไมโครเวฟ ทำให้การรับส่งและแลกเปลี่ยนเอกสารเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) จึงสามารถติดต่อข้อมูลข่าวสารได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเอง Information and Communication Technology (ICT) มีความหมายถึง Information Technology (IT) และ Communication Technology (CT) (Mallard, 2002)
1) IT หมายถึง อุปกรณ์ (Hardware) และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) ซึ่งใช้เพื่อการเข้าถึง แก้ไข จัดเก็บ รวบรวม ควบคุม และนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
(1) Hardware ได้แก่ Personal Computers, Scanners และ Digital Cameras เป็นต้น
(2) Software ได้แก่ Database Storage Programs และ Multimedia Programs เป็นต้น
2) CT หมายถึง อุปกรณ์โทรคมนาคม (Tele-communication Equipment) ใช้เพื่อประโยชน์ในการค้นหาและเข้าถึงสารสนเทศ ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

1.3 ระบบเครือข่าย
การเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อประหยัดทรัพยากร ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และสะดวกในการใช้งาน การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เรียกว่า ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เป้าหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ
1) มีการใช้ทรัพยากรทางฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ร่วมกัน
2) สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้สำหรับทุกคนที่อยู่ในระบบเครือข่าย
3) การติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคนมีความสะดวกสบายขึ้น

เครือข่ายสื่อสารของคอมพิวเตอร์อาจมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก อาจเป็นแบบส่วนบุคคลหรือสาธารณะ และอาจจะเป็นแบบไร้สารหรือใช้สายหรือใช้ทั้งสองแบบร่วมกัน ในทำนองเดียวกันเครือข่ายขนาดเล็กอาจจะมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายขนาดใหญ่

ปัจจุบันเรานิยมจัดประเภทของเครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ระบบเครือข่ายนั้น ครอบคลุมอยู่ จำแนกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (รุจพร ชนาชัย และคณะ, 2546.)
1) เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ (LAN หรือ Local Area Network) เป็นเครือข่ายที่นิยมใช้ภายในสำนักงานอาคารเดียวกันและองค์กรที่อยู่ในบริเวณเดียวกันหรือใกล้กัน เป็นเครือข่ายระยะใกล้ การเชื่อมต่อสามารถใช้สายเคเบิล สายโคแอกซ์ หรือสายเส้นใยแก้ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรและสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันได้ ตัวอย่างของเครือข่ายนี้ ได้แก่ เครือข่ายคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัย โรงเรียน และบริษัทหรือห้างร้านต่าง ๆ
2) เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง (MAN หรือ Metropolitan Area Network) เป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อผู้ใช้ที่อยู่ในเขตเมืองเดียวกัน เป็นเครือข่ายขนาดกลางที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนของเมืองนั้นหรือเขตการปกครองนั้น เช่น เครือข่ายของรัฐต่าง ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา
3) เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN หรือ Wide Area Network) เป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันระยะไกล ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ ระหว่างประเทศ หรือทั่วโลก โดยอาศัยอุปกรณ์ดาวเทียม สายเส้นใยแก้วนำแสงหรือไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการสื่อสาร ระบบเครือข่ายประเภทนี้ที่เรารู้จักกันดีก็คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1.4 อินเทอร์เน็ต
โลกในยุคปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารและยุคทางด่วนข้อมูลที่ก้าวหน้ามาก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทที่สำคัญในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ผู้ที่มีข้อมูลและสามารถหาข้อมูลได้ก่อน ผู้อื่นจะได้เปรียบในทุกด้าน การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เชื่อมโยงกันทั่วโลกหรือที่เราเรียกว่าอินเทอร์เน็ต มีบทบาทที่สำคัญและ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตประจำวันของเราหลายด้าน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นิสิตจะได้ศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการศึกษาและอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตได้

คำว่า อินเทอร์เน็ต มาจากคำเต็มว่า International Network หรือเขียนแบบย่อว่า Internet หมายความว่า เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย (Network of Networks) ในปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่มากกว่า 60 ล้านเครื่อง มาเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน การที่คอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันหลายชนิดจำนวนมากมายทั่วโลก เชื่อมโยงกันได้ จะต้องใช้เกณฑ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อหรือโพรโทคอล (Protocol) เดียวกัน จึงจะ
เข้าใจกันได้ และเกณฑ์วิธีที่นำมาใช้กับการเชื่อมโยงต่ออินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีชื่อเรียกว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)

อินเทอร์เน็ตถูกนำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งในด้านสื่อสาร เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (Electronic Mail หรือ E-mail) การสนทนาผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือห้องคุย (Chat Room) ด้านแหล่งความรู้และความบันเทิง ด้านการซื้อขายสินค้าและบริการหรือเราเรียกว่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) นับวันอินเทอร์เน็ตจะยิ่งเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น การที่มีระบบอินเทอร์เน็ตช่วยให้นิสิตสามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ ของโลก โดยไม่จำกัดระยะทางได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้หลายรูปแบบคือภาพ เสียง ข้อความต่าง ๆ ระบบอินเทอร์เน็ตอาศัยเทคโนโลยี โทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่าย

ในประเทศไทยอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทุกสาขาวิชาชีพ มีสมาชิกใช้งานในระบบเชื่อมไปถึงสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ตลอดถึงประชาชนทั่วไปด้วย นอกจากนี้ทางรัฐบาลได้ผลักดันให้มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงไปถึงระดับองค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่เราเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ตตำบล ใช้ในการเผยแพร่ผลงานและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นเพื่อออกจำหน่ายทางอินเทอร์เน็ตด้วย

การใช้อินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน สามารถสรุปที่สำคัญได้ดังนี้
1) ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวก และรวดเร็ว
2) ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจ่าง ๆ ทั่วโลกได้
3) ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
4) สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5) ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น
6. ใช้สื่อสารด้วยข้อความซึ่งเป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยการพิมพ์ ข้อความโต้ตอบ
7) ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
8) ซื้อขายสินค้าและบริการ

การต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้บริการต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ต นิสิตสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1) การต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์โมเด็ม (MODEM) ไปยังไอเอสพีที่นิสิต เป็นสมาชิกอยู่ โมเด็มคืออุปกรณ์แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ ดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนะล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนะล็อกกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้ โดยปกตินิสิตสามารถใช้วิธีนี้ติดต่อจากที่บ้านหรือที่ทำงานที่ไม่มีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงถึง ความเร็วของการติดต่อขึ้นอยู่กับโมเด็ม
2) การต่อผ่านเครือข่ายแลน วิธีนี้จะสะดวกมากกว่าวิธีอื่น การรับส่งข้อมูลมีความเร็วสูง นิยมใช้ในหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ใช้งานได้พร้อมกันครั้งละหลาย ๆ คน โดยหน่วยงานเหล่านั้นจะต้องมีการเชื่อมอินเทอร์เน็ตผ่านสายสัญญาณใยแก้วนำแสงหรือสายวงจรเช่า (Leased Line) กับไอเอสพี

การให้บริการอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบและมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา สามารถสรุปที่มีการใช้ประโยชน์มากที่สุด ดังต่อไปนี้
1) การให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ www) เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถอยู่ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน เช่น เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นได้ง่าย
2) การให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นบริการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล ซึ่งจดหมายเหล่านี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับ ไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลกอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที จดหมายที่ส่งจะเป็นข้อมูล เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
3) การแลกเปลี่ยนข่าวสารแบบกลุ่ม (Usenet Newsgroup) เป็นบริการที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้สนใจในเรื่องเดียวกัน สามารถอภิปรายโต้ตอบกันได้ มีการจัดหัวข้อให้แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม ๆ เช่น กลุ่มผู้สนใจด้าน สิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้สนใจด้านคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้สนใจด้านการเมือง และอื่น ๆ ทุกคนจากทั่วโลกสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง
4) การซื้อขายสินค้าและบริการ (Electronic Commerce หรือ E-Commerce) เป็นบริการที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต เป็นธุรกิจที่นิยมมากในปัจจุบัน สามารถให้การบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถสืบค้นหาของที่ตนต้องการซื้อ ตรวจสอบราคา รวมถึงรายละเอียดและการสั่งซื้อได้โดยตรงจากที่บ้านหรือสำนักงาน
5) การบริการการโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol หรือ FTP) เป็นบริการโอนถ่ายข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก นำลงมาเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ของนิสิตนักศึกษา ทำให้สามารถนำข้อมูลหรือโปรแกรมที่ต้องการจากเครือข่ายมาใช้งานได้
6) การสื่อสารโต้ตอบด้วยข้อความ (Internet Relay Chat หรือ IRC) เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในส่วนต่างของโลก สามารถติดต่อพูดคุย โต้ตอบด้วยข้อความผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นิสิตนักศึกษาสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คน หรือเป็นกลุ่มบุคคลพร้อมกันก็ได้ เป็นการโต้ตอบในเวลาเดียวกันขณะนั่งทำงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นที่นิยมมากในกลุ่มวัยรุ่น โปรแกรมที่ใช้ที่นิยมกันมากในขณะนี้ ได้แก่ โปรแกรมไอซีคิว (ICQ)

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ www) เป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ต ใช้ในการให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยมีการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูล เราจะเรียกว่าเครื่องบริการเว็บ (Web Server) เพื่อให้บริการข้อมูลแก่ ผู้ต้องการ รูปแบบของข้อมูลจะถูกนำเสนอผ่านโปรแกรมค้นดู ที่เรียกว่า เบราว์เซอร์ (Browser) หรือเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) แสดงเป็นหน้ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า เว็บเพจ (Web Page) ข้อมูลที่อยู่ในเว็บเพจสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นด้วยวิธีเชื่อมโยงหลายมิติ

ประวัติอินเตอร์เน็ต

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)

มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)

ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก

ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด

สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา

อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

7 ก.ย. 2554

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ก่อนที่จะเริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้น เราควรจะต้องมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยเฉพาะการทำความเข้าใจเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) เบื้องต้น ทั้งนี้เนื่องจากในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่องทั่วโลก และถือว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง


ความหมายและความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)

ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ


ลักษณะการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จุดปลายทางของการรับ-ส่งข้อมูล เราเรียกว่าโหนด (Node) ซึ่งโหนดนี้อาจเป็น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ ATM หรือเครื่องรับโทรศัพท์ ซึ่งแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ซึ่งการที่จะทำให้แต่ละโหนด ติดต่อรับ-ส่งข้อมูลถึงกันได้นั้น ต้องมีการเชื่อมต่อที่เป็นระบบ ในรบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ เราสามารถแบ่งลักษณะของการเชื่อมโยงออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์หลักที่เป็นโฮสต์ (Host) ต่อสายสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ย่อยที่เป็นไคลเอนต์ (Client) คอมพิวเตอร์ที่เป็นไคลเอนต์แต่ละเครื่องไม่สามารถติดต่อกันได้โดยตรง การติอต่อจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่เป็นศูนย์กลาง
2. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการติดต่อสื่อสารเป็นแบบวงแหวนโดยที่ไม่มีคอมพิวเตอร์หลัก คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายสามารถติดต่อกันได้โดยตรง
3. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เครือข่ายแบบนี้จะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์บนสายเคเบิล ซึ่งเรียกว่าบัส คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งๆ สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นอิสระ โดยข้อมูลจะวิ่งผ่านอุปกรณ์ต่างๆ บนสายเคเบิลจนกว่าจะถึงจุดที่ระบุไว้ (Address)


ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN)
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN)
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN)
เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม

ช่องทางการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ช่องทางการสื่อสาร (Communication Channel) หมายถึงสื่อ (Medium) ที่เป็นตัวกลางและอนุญาตให้ข้อมูล/สารสนเทศผ่านจากจุดส่งถึงผู้รับในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง ปริมาณของข้อมูลที่ช่องทางการสื่อสารสามารถนำไปได้นั้น เรียกว่า ความจุของช่องทางการสื่อสาร หรือ แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ซึ่งนับเป็นจำนวนบิต (Bits) ต่อ 1 วินาที (bits per second : bps) สื่อที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสาร ประกอบไปด้วย
สายโทรศัพท์ (Telephone Line) เป็นช่องทางการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ประกอบด้วยลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว เป็นสายสื่อสารที่ใช้ได้ทั้งในบ้านและในองค์กรธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปองค์การโทรศัพท์ฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้ บริการดังกล่าวได้แก่Voice-grade Service หมายถึง การสื่อสารข้อมูลในรูปของสัญญาณแอนะล็อก (Analog) บนสายโทรศัพท์ โดยมีโมเด็มเป็นเครื่องแปลงสัญญาณ มีแบนด์วิดธ์เท่ากับ 56 K bps โดยประมาณ
ISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นระบบเครือข่ายที่มีความเร็วและความจุของช่องสื่อสารสูงถึงประมาณ 128 K bps และยังสามารถแยกช่องสื่อสารเดียวกันออกเป็นช่องสื่อสารเสียง และช่องสื่อสารสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
Two-megabit Service เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีความเร็ว 2 M bps (2,000,000 bits per second) โดยผ่านโมเด็ม สามารถรับข้อมูลที่อยู่ในรูปของภาพเคลื่อนไหวในระบบวีดิทัศน์ รวมทั้งกราฟิกความเร็วสูง และการเข้าถึงสารสนเทศแบบ on line real-time ของผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ ในระบบเครือข่าย
สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) หรือที่รู้จักในนามของสายโทรทัศน์ (Cable Television) ประกอบด้วยลวดทองแดงหลายเส้นหุ้มด้วยฉนวนกันน้ำ จัดเป็นสายสื่อสารที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณสูง มีการรบกวนต่ำ นิยมใช้เป็นช่องสัญญาณแอนะล้อกผ่านทะเล มหาสมุทร และใช้เป็นช่องสัญญาณในระบบเครือข่ายแบบ LAN มีความจุประมาณ 100 M bps ซึ่จัดได้ว่าเป็นช่องสื่อสารที่มีความจุสูงมาก

สายใยแก้ว (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยหลอดหรือเส้นไฟเบอร์ขนาดเล็กจิ๋วเท่าเส้นผมมนุษย์ ภายในกลวงเพื่อให้แสงเลเซอร์วิ่งผ่าน เป็นสายสื่อสารที่มีความจุของช่องสื่อสารนับเป็นล้านล้านบิตต่อวินาที (Gbps) เนื่องจากใช้แสงในการนำส่งข้อมูลแทนการใช้สัญญาณไฟฟ้า จึงทำให้มีความเร็วในการนำส่งข้อมูลมากกว่าช่องทางการสื่อสารทุกชนิด

สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave Signals หรือ Radio Signals) เป็นช่องทางการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง (High Speed Wireless) ส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟหรือสัญญาณวิทยุ โดยสัญญาณจะวิ่งเป็นเส้นตรง จึงต้องมีสถานีรับ-ส่งเป็นระยะๆ จากจุดส่งถึงจุดรับ สถานีขยายสัญญาณจึงมักตั้งอยู่บนที่สูงเพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางขณะส่งสัญญาณไปในอากาศ

จากข้อจำกัดของสัญญาณไมโครเวฟดังกล่าวนี้ จึงได้มีการพัฒนาดาวเทียม (Satellites)

ขึ้นมาเพื่อส่งสัญญาณไมโครเวฟในระยะที่ห่างจากพื้นดิน โดยดาวเทียมจะทำการรับสัญญาณ จากสถานีภาคพื้นดินเพื่อขยายสัญญาณ ปรับความถี่ของคลื่น และส่งสัญญาณกลับลงมายังสถานีภาคพื้นดินหลายจุด ในบริเวณที่กว้างมาก เพื่อลดข้อจำกัดของไมโครเวฟ และที่สำคัญคือ ดาวเทียมสามารถสื่อสารข้อมูลจากแหล่งส่ง 1 แหล่งไปยังผู้รับจำนวนมากบนพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก

10 ก.ย. 2553

โปรแกรม Authorware

รู้จักกับโปรแกรม Authorware

โปรแกรม Authorware จัดเป็นโปรแกรมประเภท Authoring System ที่ใช้ในการเรียบเรียงงานนำเสนอลักษณะ Multimidia มีทั่งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงเพลง เสียงอธิบาย Sound Effect และสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โปรแกรมได้หลายรูปแบบ ซึ่งจากคุณสมบัติดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง

โปรแกรม Authorware ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Objtected Interfack ซึ่งเป็นการใช้สัญลักษณ์ (Icon) แทนคำสั่ง ทำให้ง่ายและสะดวกในการใช้งาน

การเรียกใช้โปรแกรม Authorware

1. เลือก Start ---> Programs ---> Macromedia Authorware(ตำแหน่งของโปรแกรม)
2. จะปรากฏหน้าจอการทำงานของ Macromedia Authorware ขึ้นมา

การพัฒนางานด้วยโปรแกรม Authorware

ลักษณะการทำงานของโปรแกรม Authorware จะประกอบไปด้วยไอคอนที่วางเรียงบนเส้น ซึ่งเป็นการกำหนดการทำงานของโปรแกรมนั่นเอง ไอคอนที่อยู่ด้านซ้ายมือของจอภาพจะถูกนำมาเรียงไว้บนเส้น Flow Line ตามสคริปต์ที่ผู้พัฒนาเตรียมไว้ เพื่อกำหนดขั้นตอนการทำงาน จากนั้นก็ทดสอบรันโปรแกรมดูได้

นอกจากนี้ยังมีคำสั่งให้เลือกใช้ คือ

- Manu Bar

- Tool Bar

ในขั้นสุดท้ายหลังจากทำการพัฒนาและออกแบบแล้ว ยังสามารถจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบนามสกุล .EXE หรือนามสกุล .A5R ที่มีคำสั่ง Package เพื่อนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ

ส่วนประกอบโปรแกรม Authorware

1.Beginning of File ตำแหน่งเริ่มต้นวางไอคอน
2.Paste Head ตัวชี้ตำแหน่ง
3.Flow Line เส้นลำดับการทำงาน
4.End of File ตำแหน่งจบไฟล์
5.Icon Palette ไอคอนคำสั่งต่างๆ

ความหมายของไอคอนที่ใช้ในโปรแกรม Authorware

Diskplay Icon ใช้แสดง Object ที่เป็น Text & Grapphic
Motion Icon ใช้ทำภาพเคลื่อนหวมีทั้งหมด 5 แบบ
Erase Icon ใช้ลบภาพหรือข้อความออกจากจอภาพ
Wait Icon ใช้หยุดการทำงานจนกว่าจะกดเม้าส์หรือคียืบอร์ด
Navigate Icon ใช้สร้างการเลื่อนไปข้างหน้า
Framework Icon
Decision Icon ใช้ควบคุมการทำงานโดยกำหนดรูปแบบการทำงาน
Interaction Icon ใช้กำหนดวิธีการติดต่อกับผู้ใช้ทั้งหมดมี 11 แบบ
Calculation Icon ใช้กำหนดค่าตัวแปร
Map Icon ใช้รวมไอคอนไว้เป็นกลุ่มเพื่อจัดแบ่งงานเป็นโมดูล
Digitle Movie Icon ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหวจากไฟล์ Digitle Movie
Sound Icon ใช้แสดงเสียงจากไฟล์ Sound
Video Icon ใช้แสดงภาพวีดีโอ
Start Icon ใช้กำหนดจุดเริ่มต้นทดสอบโปรแกรม
Stop Icon ใช้กำหนดจุดสิ้นสุดการทดสอบโปรแกรม
Color ใช้กำหนดสีของไอคอนเพื่อให้เห็นความแตกต่าง

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

ความหมาย Cai
cai คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTION
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด

โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่

1.สารสนเทศ (Information)
หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง

2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization)
การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด


3.การโต้ตอบ (Interaction)
คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด

4.การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback)
ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

แนวคิดและหลักการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
แนวคิดของ โรเบิร์ต กาเย่ มี 9 ประการ แนวคิดนี้ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์
1. เร่งเร้าความสนใจ เกี่ยวกับเนื้อหาที่น่าสนใจ เร้าความสนใจในตอนแรก หรือหน้าแรก คือหน้า Title
2. บอกวัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ที่ถูกเรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของบทเรียนจากผู้เรียนกำหนดเชิงพฤติกรรมเป็นวัตถุประสงค์ (สามารถวัดผู้เรียนได้)
3. ทบทวนความรู้เดิม ทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะเรียนความรู้ใหม่ เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ การนำเสนอภาพเกี่ยวกับเนื้อหาประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ แต่ได้ใจความใช้ภาพประกอบที่จะให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายขึ้น
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดีหากมีการจัดระบบ การเรียนเนื้อหาที่ดี และสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
6. การกระตุ้นการสอบสนอง ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตอบ การคิด และร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับเนื้อหา
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ การนำเสนอด้วยภาพจะเร้าความสนใจได้ดี
8. ทดสอบความรู้ใหม่ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง และยังเป็นการวัดผลว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ตั้งใจหรือไม่
9. สรุปและนำไปใช้ ต้องสรุปเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ เปิดโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองบทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาบทถัดไป
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มี 5 ขั้นตอน
1.วิเคราะห์
2.ออกแบบ
3.พัฒนา
4.สร้าง
5.ประเมิน

องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบให้ข้อมูล
ย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป

ประเภทของ CAI
ประเภทของ CAI บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สามารถจะแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ รวม 8 ประเภทดังนี้
1. Instruction
แบบการสอน เพื่อใช้สอนความรู้ใหม่แทนครู ซึ่งจะเป็นการพัฒนาแบบ Self Study Package เป็นรูปแบบของการศึกษาด้วยตนเองจะเป็นชุดการสอนที่จะต้องใช้ความระมัดระวัง และทักษะในการพัฒนาที่สูงมาก เพราะจะยากเป็นทวีคูณกว่าการพัฒนาชุดการสอนแบบโมดูล หรือแบบโปรแกรมที่เป็นตำรา ซึ่งคาดว่าจะมีบทบาทมาก
ในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะ IMMCAI Internet
2. Tutorial
แบบสอนซ่อมเสริม หรือทบทวน เป็นบทเรียนเพื่อทบทวนการเรียนจากห้องเรียน หรือจากผู้สอน โดยวิธีใด ๆ จากทางไกลหรือทางใกล้ก็ตาม การเรียนมักจะไม่ใช้ความรู้ใหม่หากแต่จะเป็นความรู้ที่ได้เคยรับมาแล้วใน รูปแบบอื่น ๆ แล้วใช้บทเรียนซ่อมเสริมเพื่อตอกย้ำความเข้าใจที่ถูกต้องและสมบูรณ์ดีขึ้น สามารถใช้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3. Drill and Practice
แบบฝึกหัด และควรจะมีการติดตามผล (Follow up) เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาครั้งต่อ ๆ ไป จากขั้นตอนและฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เสริมการปฏิบัติหรือเสริมทักษะการกระทำบางอย่างให้เข้าใจยิ่งขึ้น และเกิดทักษะที่ต้องการได้ เป็นการเสริมประสิทธิผลการเรียนของผู้เรียนสามารถใช้ในห้องเรียนเสริมขณะที่สอนหรือนอกห้องเรียน ที่ใดเวลาใด ก็ได้ สามารถใช้ฝึกหัดทั้งทางด้านทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งทางช่างอุตสาหกรรมด้วย
4. Simulation
แบบสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อใช้สำหรับการเรียนรู้ หรือทดลองจากสภาพการณ์จำลองจากสถานการณ์จริง ซึ่งอาจจะหาไม่ได้หรืออยู่ไกลไม่สามารถนำเข้ามาในห้องเรียนได้ หรือมีสภาพอันตราย หรืออาจสิ้นเปลืองมากที่ต้องใช้ของจริงซ้ำ ๆ สามารถใช้สาธิตประกอบการสอนใช้เสริมการสอนในห้องเรียน หรือใช้ซ่อมเสริมภายหลังการเรียนนอกห้องเรียน ที่ใด เวลาใด ก็ได้
5. Games
แบบสร้างเป็นเกมส์ การเรียนรู้บางเรื่องบางระดับบางครั้งการพัฒนาเป็นลักษณะเกมส์สามารถเสริมในการเรียนรู้ได้ดีกว่า การใช้เกมส์เพื่อการเรียน สามารถใช้สำหรับเรียนรู้ความรู้ใหม่หรือเสริมการเรียนในห้องเรียนก็ได้ รวมทั้งสามารถสอนทดแทนครูในบางเรื่องได้ด้วยจะเป็นการเรียนรู้จากความเพลิดเพลินเหมาะสำหรับผู้เรียนที่มี
ระยะเวลาความสนใจสั้น เช่นเด็ก หรือในภาวะสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย เป็นต้น
6. Probllem Solving
แบบการแก้ปัญหา เป็นการฝึกการคิดการตัดสินใจ สามารถใช้กับวิชาการต่าง ๆ ที่ต้องการให้สามารถคิดแก้ปัญหา ใช้เพื่อเสริมการสอนในห้องเรียนหรือใช้ในการฝึกทั่ว ๆ ไป นอกห้องเรียนก็ได้เป็นสื่อสำหรับการฝึกผู้บริหารได้ดี
7. Test
แบบทดสอบ เพื่อใช้สำหรับตรวจวัดความสามารถของผู้เรียนสามารถใช้ประกอบการสอนในห้องเรียน หรือใช้ตามความต้องการของครู หรือของผู้เรียนเอง รวมทั้งสามารถใช้นอกห้องเรียนสามารถใช้วัดความสามารถของตนเองได้ด้วย
8. Discovery
แบบสร้างสถานการณ์ เพื่อให้ค้นพบเป็นการจัดทำเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง โดยการลองผิดลองถูก หรือเป็นการจัดระบบนำล่อง เพื่อชี้นำสู่การเรียนรู้สามารถใช้เรียนรู้ความรู้ใหม่ หรือเป็นการทบทวนความรู้เดิม และใช้ประกอบการสอนในห้องเรียน หรือการเรียนนอกห้องเรียน สถานที่ใด เวลาใด ก็ได้

25 ส.ค. 2553

Long Shot



ภาพระยะไกล (Long Shot /LS)
ภาพระยะไกล เป็นภาพที่ค่อนข้างสับสนเพราะมีขนาดที่ไม่แน่นอนตายตัว บางครั้งเรียกภาพกว้าง (Wide Shot) เวลาใช้อาจกินความตั้งแต่ภาพระยะไกลมาก (ELS) ถึงภาพระยะไกล (LS) ซึ่งเป็นภาพขนาดกว้างแต่สามารถเห็นรายละเอียดของฉากหลังและผู้แสดงมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับภาพระยะไกลมาก หรือเรียกว่า Full Shot เป็นภาพกว้างเห็นผู้แสดงเต็มตัว ตั้งแต่ศีรษะจนถึงส่วนเท้า
ภาพระยะไกล (LS) บางครั้งนำไปใช้เปรียบเทียบเหมือนกับขนาดภาพระหว่างหนังกับละครที่คนดูมองเป็นเท่ากัน คือ สามารถเห็นแอ็คชั่นหรืออากัปกริยาของผู้แสดงเต็มตัวและชัดเจนพอ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าหนังของชาร์ลี แชปลิน (Charlie Chaplin) มักใช้ขนาดภาพนี้กับภาพปานกลาง (MS) ถ่ายทอดอารมณ์ตลกประสบความสำเร็จในหนังเงียบของเขา

จาก Extra logn shot

Medium Shot



ภาพระยะปานกลาง (Medium Shot /MS)
ภาพระยะปานกลาง เป็นขนาดที่มีความหลากหลายและมีชื่อเรียกได้หลายชื่อเช่นเดียวกัน แต่โดยปกติจะมีขนาดประมาณตั้งแต่หนึ่งในสี่ถึงสามในสี่ของร่างกาย บางครั้งเรียกว่า Mid Shot หรือ Waist Shot ก็ได้ เป็นช็อตที่ใช้มากสุดอันหนึ่งภาพยนตร์
ภาพระยะปานกลางมักใช้เป็นฉากสนทนาและเห็นแอ็คชั่นของผู้แสดง นิยมใช้เชื่อมเพื่อรักษาความต่อเนื่องของภาพระยะไกล (LS) กับภาพระยะใกล้ (CU)

Close up



ภาพระยะใกล้ (Close-Up / CU)
เป็นภาพที่เห็นบริเวณศีรษะและบริเวณใบหน้าของผู้แสดง มีรายละเอียดชัดเจนขึ้น เช่น ริ้วรอยบนใบหน้า น้ำตา ส่วนใหญ่เน้นความรู้สึกของผู้แสดงที่สายตา แววตา เป็นช็อตที่นิ่งเงียบมากกว่าให้มีบทสนทนา โดยกล้องนำคนดูเข้าไปสำรวจตัวละครอย่างใกล้ชิด